NIA ร่วมมือกับ 10 โรงเรียนสังกัดศธ.ผลักดันห้องเรียนนวัตกรรม

NIA ร่วมมือกับ 10 โรงเรียนสังกัดศธ.ผลักดันห้องเรียนนวัตกรรม

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ทำความความร่วมมือกับ 10 โรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดตัวโครงการ “สนามการเรียนรู้นวัตกรรมสําหรับเยาวชน” สร้างห้องเรียนนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพในรูปแบบต่างๆ สอดรับกับนโยบายชาติที่มุ่งสร้างเด็กไทยให้เป็นนวัตกร ผ่านการนำกระบวนการ STEAM4INNOVATOR กระบวนการที่เน้นให้เยาวชนได้ฝึกคิด ฝึกมองปัญหา และสามารถหาคำตอบได้ในมุมใหม่ที่สร้างสรรค์ เข้าสู่โรงเรียนเพื่อเข้าถึงเยาวชนในวงกว้างทั่วทุกภูมิภาค และทุกระดับการศึกษา โดยมีคุณครูที่ปรึกษาคอยดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อร่วมกันเป็นส่วนสำคัญในการสร้างรากฐานทางด้านนวัตกรรม และก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นกับเยาวชนไทยในอนาคตต่อไป

ทั้งนี้ ในการนำหลักสูตร STEAM4INNOVATOR ไปใช้ในห้องเรียน จะมีรูปแบบการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน 3 แบบ ได้แก่ การสอนในวิชาหลัก ตาม 8 รายวิชาพื้นฐาน การสอนในรายวิชาเพิ่มเติม และการสอนในกิจกรรมเพิ่มพูนประสบการณ์ หรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยตั้งเป้าส่งต่อความรู้และทักษะสู่เยาวชนมากกว่า 2,000 คน เกิด 50 ไอเดียสร้างนวัตกรรม และ 5 ผลงานนวัตกรรมที่สามารถต่อยอดได้จริง

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผอ.สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า NIA มีพันธกิจหลักในการมุ่งสร้างระบบนวัตกรรมที่เข้มแข็ง เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศแห่งนวัตกรรม ซึ่งหนึ่งในภารกิจสำคัญที่เอ็นไอเอมุ่งขับเคลื่อนมาอย่างต่อเนื่อง คือการพัฒนากลไกเพื่อสร้างคนที่มีศักยภาพในด้านนวัตกรรม

ดังนั้น คนรุ่นใหม่จึงเป็นขุมกำลังที่จะตอบโจทย์การสร้างประเทศนวัตกรรมในอนาคต ซึ่งในแต่ละปี NIA ได้ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรทั้งโรงเรียนและมหาวิทยาลัย โดยการนำเครื่องมือสำคัญในการสร้างนวัตกร ได้แก่ กระบวนการ STEAM4INNOVATOR เข้าไปถ่ายทอดให้กับเยาวชนและคนรุ่นใหม่มากกว่า 10,000 รายในหลากหลายรูปแบบ เพื่อกระตุ้นการสร้างสรรค์นวัตกรรมบนฐาน STEAM อันได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และคณิตศาสตร์ พร้อมด้วยแนวคิดทางด้านธุรกิจอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดทักษะในการคิดค้นนวัตกรรมและการประกอบการในอนาคต

NIA ร่วมมือกับ 10 โรงเรียนสังกัดศธ.ผลักดันห้องเรียนนวัตกรรม

“ซึ่งโครงการสนามการเรียนรู้นวัตกรรมสำหรับเยาวชนเป็นอีกหนึ่งรูปแบบการเข้าถึงเยาวชนที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากเราสามารถกระจายการดำเนินงานได้อย่างกว้างขวางในระบบโรงเรียนทั้ง 10 โรงเรียน และนอกจากการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนแล้ว เรายังให้ความสำคัญกับการฝึกสอนครูให้เป็น “ผู้สร้างนวัตกร” ที่สามารถสร้างนวัตกรรุ่นเยาว์ได้อย่างยั่งยืนต่อไป ซึ่งโครงการสนามการเรียนรู้นวัตกรรมสำหรับเยาวชน มีเป้าหมายสำคัญ 5 ระดับ คือ 1. Ignition สร้างแรงบันดาลใจในการคิดและสร้างนวัตกรรมในกลุ่มเยาวชน 2. Capability สร้างความรู้ความเข้าใจและความสามารถด้านนวัตกรรมให้กับนักเรียน 3. Connectivity สร้างสังคมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และลงมือปฏิบัติที่สามารถวัดผลสำเร็จด้านการศึกษาและการต่อยอดผลงานสู่การเป็นผู้ประกอบการได้ 4. STEAM4INNOVATOR Center สร้างโรงเรียนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเยาวชนบนมาตรฐานและการทำงานร่วมอย่างยั่งยืนกับ NIA และ 5. New Platform สร้างระบบการเชื่อมโยงงานข้ามกระทรวงฯ เพื่อเสริมจุดแข็งในด้านนวัตกรรม โดย NIA ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) และโรงเรียน ภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางในการขยายผลสู่โรงเรียนอื่น ๆ ทั่วประเทศได้ต่อไปในอนาคต”

ด้าน ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง รองผอ.ด้านระบบนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวเพิ่มเติมว่า NIA และหน่วยงานพันธมิตร มุ่งมั่นที่จะสร้างโรงเรียนต่าง ๆ ให้เป็น STEAM4INNOVATOR Center โดยวางมาตรฐานการทำงานบนแกนหลัก 4C อย่างเข้มข้น คือ

1) Content ใช้กระบวนการและเครื่องมือจาก STEAM4INNOVATOR ในการจัดการเรียนการสอน

2) Coaching ครูและอาจารย์สามารถเป็นโค้ชให้กับนักเรียนได้

3) Connection เชื่อมโยงเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษารอบด้านเพื่อการต่อยอดผลงาน

4) Cluster เชื่อมโยงเยาวชนในโรงเรียนและระหว่างโรงเรียน เพื่อสร้างพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนความคิดและแรงบันดาลใจ

และในปี 2566 นี้ NIA ได้ตั้งเป้าให้เกิด 10 รูปแบบห้องเรียนนวัตกรรม กับ 50 ครูแกนนำเพื่อส่งต่อความรู้และทักษะสู่เยาวชนมากกว่า 2,000 คนในโรงเรียน ในการพัฒนาจนเกิด 50 ไอเดียสร้างนวัตกรรม และ 5 ผลงานนวัตกรรมที่ทำจริง บนโจทย์สุดท้าทายของสนามการเรียนรู้ฯ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับธุรกิจ BCG โดยใช้เครื่องมือ STEAM4INNNOVATOR

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ neogamusic.com

แทงบอล

Releated